โลโก้เว็บไซต์ มทร.ล้านนา เปิดเวทีแลกเปลี่ยนจัดการความรู้การมีส่วนร่วมเครือข่ายวิจัย สร้างชุมชนนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน  | สำนักงานตรวจสอบภายใน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา

มทร.ล้านนา เปิดเวทีแลกเปลี่ยนจัดการความรู้การมีส่วนร่วมเครือข่ายวิจัย สร้างชุมชนนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน

เผยแพร่เมื่อ : พุธ 1 มิถุนายน 2565 โดย อภิญญา พูลทรัพย์ จำนวนผู้เข้าชม 3295 คน

ยังไม่มีคะแนนสำหรับบทความนี้ ผู้อ่านสามารถให้คะแนนบทความได้จากปุ่มข้างใต้

              เมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม 2565 สถาบันวิจัยเทคโนโลยีเกษตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา บูรณาการร่วมกับนวัตกรชุมชนและเครือข่ายวิจัยเปิด "เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การจัดการความรู้สร้างกระบวนการมีส่วนร่วมของเครือข่ายการวิจัยเชิงพื้นที่ “ชุมชนนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน” จังหวัดลำปาง-จังหวัดตาก ภายใต้โครงการที่ได้รับการสนับสนุนทุนวิจัยจาก หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) ปี 2565 แผนงานชุดโครงการวิจัย “นวัตกรรมกระบวนการมีส่วนร่วมการสร้างห่วงโซ่อาหารการผลิตสินค้าเกษตรมูลค่าสูงได้มาตรฐานในชุมชนนวัตกรรมจังหวัดลำปางและจังหวัดตาก” โดยได้รับเกียรติจาก นายชาญ จูดดง นายอำเภอแจ้ห่ม เป็นประธานในพิธีเปิดงานและให้โอวาทแก่คณะนักวิจัยและผู้เข้าร่วมกิจกรรม พร้อมมอบใบรับรองระบบมาตรฐานการผลิตอาหาร (อย.)  วิสาหกิจชุมชนกลุ่มแปรรูปบ้านสา “แซ่บถะล้า” ผลการดำเนินงานโครงการวิจัย บพท. 2563  “ชุมชนนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน” และโอกาสนี้ยังมอบใบรับรองระบบมาตรฐานการผลิตอาหาร (อย.) วิสาหกิจชุมชนกลุ่มแปรรูปสับปะรดบ้านสา ภายใต้โครงการขยายผลความรู้ วทน. ของ สวทช.ปี 2562-2564 ซึ่งเป็นผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานโครงการของคณะนักวิจัยมทร.ล้านนาร่วมกับนวัตกรชุมชนในตำบลบ้านสา และเครือข่ายหน่วยงานสนับสนุนการพัฒนาอาชีพ อำเภอแจ้ห่ม นอกจากนี้ยังบูรณาการจัดกระบวนการสร้างเสริมทักษะการขยายผลความรู้จากผลงานวิจัยเชิงปฏิบัติการของนักศึกษาฝึกงานของวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีสุโขทัย แลกเปลี่ยนความรู้ร่วมในกิจกรรม ณ อาคารหอประชุม ที่ว่าการอำเภอแจ้ห่ม จังหวัดลำปาง

             กิจกรรมในครั้งนี้ ผู้ช่วยศาสตราจารย์สันติ ช่างเจรจา สถาบันวิจัยเทคโนโลยีเกษตร ผู้รับผิดชอบแผนงานวิจัยฯ พร้อมด้วยคณะนวัตกรชุมชน/ผู้นำชุมชน/กลุ่มวิสาหกิจชุมชน ทั้ง 7 ตำบลของอำเภอแจ้ห่ม และหน่วยงานเครือข่ายการวิจัยประกอบด้วย สำนักงานเกษตรอำเภอแจ้ห่ม/ โรงเรียนพระปริยัติธรรม/ โรงเรียนแจ้ห่มวิทยา/ วิทยาลัยการอาชีพแจ้ห่ม/ กศน.แจ้ห่ม และ SCG    ร่วมถอดบทเรียนและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ผลงานวิจัยชุมชนวัตกรรมระยะที่ 1/2563-2564 (รับ-ปรับใช้) ชุมชนนวัตกรรมบนฐานทุนวิถีเกษตรชุมชนจังหวัดลำปางและจังหวัดตากสู่ “สังคมนวัตกรรมห่วงโซ่เกษตร” และแลกเปลี่ยนกระบวนทัศน์การวิจัยเชิงพื้นที่ภายใต้โครงการ “นวัตกรรมกระบวนการมีส่วนร่วม การสร้างห่วงโซ่การผลิตสินค้าเกษตรมูลค่าสูงได้มาตรฐานในชุมชนนวัตกรรมจังหวัดลำปางและจังหวัดตาก” ระยะที่ 2/2565 (ขยายผล-สร้างเครือข่าย) ยกระดับเศรษฐกิจฐานรากสู่ “สังคมนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน” นำไปสู่การขยายผลเชิงนโยบายของจังหวัดลำปาง







ออกแบบและพัฒนาโดย สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา