โลโก้เว็บไซต์ สวพ. ลงพื้นที่นำเสนอโครงการบ่มเพาะนักวิจัยรุ่นใหม่ RMUTL Grooming | สำนักงานตรวจสอบภายใน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา

สวพ. ลงพื้นที่นำเสนอโครงการบ่มเพาะนักวิจัยรุ่นใหม่ RMUTL Grooming

เผยแพร่เมื่อ : พฤหัสบดี 25 มกราคม 2567 โดย ณิชกมล โพธิ์แก้ว จำนวนผู้เข้าชม 1290 คน

ยังไม่มีคะแนนสำหรับบทความนี้ ผู้อ่านสามารถให้คะแนนบทความได้จากปุ่มข้างใต้

วันที่ 23-24 ม.ค. 2567 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธีระศักดิ์ สมศักดิ์ รองผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา พร้อมด้วย ผู้ช่วยศาสตราจารย์วิสูตร อาสนวิจิตร ผู้ช่วยผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา และบุคลากรของสถาบันวิจัยและพัฒนา ลงพื้นที่นำเสนอโครงการบ่มเพาะนักวิจัยรุ่นใหม่ "RMUTL Grooming 1st เพื่อส่งเสริมให้นำอาจารย์/สายสนับสนุน ที่ได้รับการบรรจุเป็นพนักงานใหม่ประจำปี 2567 ได้เห็นมิติการทำงานวิจัยเชิงพื้นที่ผ่านการลงพื้นที่จริงและโจทย์งานวิจัยที่สามารถนำไปสู่การแก้ไขปัญหาเชิงนโยบาย เชิงพื้นที่ และเชิงพาณิชย์ ในอนาคตได้ เพื่อนำไปปรับใช้เพื่อบูรณาการงานวิจัยกับการเรียนการสอนได้ ณ ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงหนองหอย อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่

หยิบดี | "RMUTL Grooming 1st "โครงการบ่มเพาะนักวิจัยรุ่นใหม่

[ตอนที่ 1]:

การสร้างความตระหนักรู้ให้นักวิจัยหน้าใหม่ (ในวันที่ทุกคนร่วมใจสู่ NAS รุ่น "เต็งหนึ่ง") ด้วยวิสัยทัศน์ที่ดีในมิติการสนับสนุนและส่งเสริมให้คณะวิจัยหน้าใหม่ได้ทำงานที่ตอบโจทย์เชิงพื้นที่ โดยนำวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่เหมาะสมสู่พื้นที่ ขับเคลื่อนนโยบายด้วย ผศ.ดร.จัตตุฤทธิ์ ทองปรอน รักษาการอธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ภายใต้แนวคิด"กินได้ ใช้ได้ อยู่ได้ ขายได้"

● จึงเกิดโครงการบ่มเพาะนักวิจัยรุ่นใหม่ (RMUTL Grooming 1st) ที่ได้นำอาจารย์/สายสนับสนุน ที่ได้รับการบรรจุเป็นพนักงานใหม่ประจำปี 2567 มาร่วมกันลงพื้นที่ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงหนองหอย อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่ ระหว่างวันที่ 23-24 ม.ค. 2567 เพื่อให้อาจารย์ได้เห็นมิติการลงพื้นที่และโจทย์งานวิจัยที่สามารถนำไปสู่การแก้ไขปัญหาเชิงนโยบาย เชิงพื้นที่ และเชิงพาณิชย์ ในอนาคตได้

● ซึ่งอาจารย์สามารถนำแนวคิดและการทำงานในมิติด้านบูรณาการงานวิจัยกับการเรียนการสอน โดยสนับสนุนให้คณะอาจารย์ได้นำเอาองค์ความรู้ และความเชี่ยวชาญในแขนงต่างๆ ที่เข้มแข็งของแต่ละเขตพื้นที่ มาร่วมพัฒนางานที่ตอบโจทย์เชิงพื้นที่ได้อย่างเข็มแข็งผ่านกลไก การทำงานที่มีเครือข่ายภาคีในพื้นที่มากขึ้น และพัฒนายกระดับรูปแบบของโครงงาน ปริญญานิพนธ์ วิทยานิพนธ์ให้สู่งานวิจัยที่ดีตอบโจทย์พื้นที่ ภายใต้วิสัยทัศน์การเป็น “มหาวิทยาลัยนวัตกรรมเพื่อชุมชน”

● ตลอดจนมิติการพัฒนาความเชี่ยวชาญของบุคลากรสายสนับสนุน ผ่านการยกระดับการพัฒนางานประจำสู่งานวิจัย R2R (Routine to Research)

[ตอนที่ 2] :

การสนับสนุนและส่งเสริมให้ได้เห็นโจทย์วิจัยเชิงพื้นที่ ได้นำอาจารย์/สายสนับสนุน ที่ได้รับการบรรจุเป็นพนักงานใหม่ประจำปี 2567 มาร่วมกันลงพื้นที่ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงหนองหอย อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่ ระหว่างวันที่ 23-24 ม.ค. 2567 เพื่อให้อาจารย์ได้เห็นมิติการทำงานวิจัยเชิงพื้นที่ผ่านการลงพื้นที่จริงและโจทย์งานวิจัยที่สามารถนำไปสู่การแก้ไขปัญหาเชิงนโยบาย เชิงพื้นที่ และเชิงพาณิชย์ ในอนาคตได้ โดยมีการจัดกลุ่มและแบ่งเป็นฐานเรียนรู้ 5 ฐานการเรียนรู้ดังนี้

1. การบริหารจัดการโครงคัดบรรจุ/พลังงานสะอาด/Logistic/Post harvest

2. โรงเรือน การให้น้ำพืชผัก และสมุนไพร

3. โรงเพาะกล้า การผลิตวัสดุปลูก และการผลิตต้นกล้า

4. ระบบการให้น้ำแปลงทดสอบพันธุ์ไม้ผล

5. แปลงเรียนรู้การปลูกป่าวนเกษตร และกาแฟภายใต้ร่มเงา

● หลังจากที่อาจารย์/สายสนับสนุน ได้กลับไปทำงานใน มทร.ล้านนาพื้นที่ของตนเอง สามารถนำแนวคิด หลักการทำงาน ไปปรับใช้เพื่อบูรณาการงานวิจัยกับการเรียนการสอนได้ โดยทางมหาวิทยาลัยขับเคลื่อนนโยบายด้วย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จัตตุฤทธิ์ ทองปรอน รักษาการอธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ภายใต้แนวคิด"กินได้ ใช้ได้ อยู่ได้ ขายได้" ได้สนับสนุนให้คณะอาจารย์นำเอาองค์ความรู้ และความเชี่ยวชาญในแขนงต่างๆ ที่เข้มแข็งของแต่ละเขตพื้นที่ มาร่วมพัฒนางานที่ตอบโจทย์เชิงพื้นที่ได้อย่างเข็มแข็งผ่านกลไก การทำงานที่มีเครือข่ายภาคีในพื้นที่มากขึ้น และพัฒนายกระดับรูปแบบของโครงงาน ปริญญานิพนธ์ วิทยานิพนธ์ให้สู่งานวิจัยที่ดีตอบโจทย์พื้นที่ ภายใต้วิสัยทัศน์การเป็น “มหาวิทยาลัยนวัตกรรมเพื่อชุมชน”

[ตอนที่ 3] :

“รู้จักตน รู้จักทีม รู้จักองค์กร” ได้นำอาจารย์/สายสนับสนุน ที่ได้รับการบรรจุเป็นพนักงานใหม่ประจำปี 2567 มาร่วมกันรับฟังการให้ความรู้เกี่ยวกับการเข้าใจพฤติกรรมของตนเอง เข้าใจพฤติกรรมที่มีความแตกต่างของเพื่อนร่วมงาน โดยใช้วิธีการทำแบบประเมินนำมาวิเคราะห์ประเมินผลเป็นรายบุคคล ซึ่งจะทำให้ผู้ทำแบบประเมินสามารถเข้าใจวิธีการพัฒนาตนเองให้เหมาะสมและสามารถดึงศักยภาพของตนเองออกมาใช้ได้อย่างถูกต้อง ยังจะส่งผลต่อการเลือกบุคลากรให้เหมาะสมกับงานที่แต่ละบุคคลมีความถนัด สามารถวางแผนการพัฒนาบุคลากรและการบริหารบุคคล อันจะนำไปสู่ความสำเร็จตามเป้าหมายขององค์กรได้ ซึ่งมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนาโดยการนำของ ผศ.ดร.จัตตุฤทธิ์ ทองปรอน รักษาการอธิการบดี ได้มีนโยบายพัฒนาบุคลากรในองค์กรให้ “รู้จักตน รู้จักทีม รู้จักองค์กร” ผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ (The Predictive Index : PI)

● และเพื่อให้ “รู้จักตน รู้จักทีม รู้จักองค์กร” มากยิ่งขึ้น จึงเกิดกิจกรรมเชื่อมสัมพันธ์ระหว่างผู้บริหารและอาจารย์/สายสนับสนุน ทุกท่านในโครงการนี้โดยได้มีการเปิดเวทีให้แต่ละกลุ่มได้มีการแสดง ทำให้ได้เห็นรอยยิ้ม เสียงหัวเราะ ตลอดจนได้รับคำแนะนำดีๆ หลักคิดดีๆ สำหรับการทำงาน จากผู้บริหารมหาวิทยาลัยทุกท่าน เพื่อนำไปปรับใช้ในการทำงานของตนเองได้ต่อไปในอนาคต

----------

ขอบคุณข้อมูลดีๆ จาก ผู้ช่วยศาสตราจารย์วิสูตร อาสนวิจิตร

ผู้ช่วยผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา






ออกแบบและพัฒนาโดย สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา